- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 20-26 กุมภาพันธ์ 2566
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,379 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,382 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,763 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,629 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,750 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,670 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 829 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,471 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 842 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,480 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 9 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 474 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,279 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 481 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,743 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 464 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 477 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,382 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 484 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,371 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 11 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3443 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวปี 2566 ไว้ที่ 7.5 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกได้ 7.7 ล้านตัน แต่ภายหลังมองว่ามีโอกาสที่การส่งออกข้าวไทยปี 2566 จะทำได้ถึง 8.5 ล้านตัน สูงกว่าประมาณการ เพราะตามตัวเลขกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) ล่าสุด คาดการณ์ว่าไทยจะส่งออกได้ถึง 8.2 ล้านตัน
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ให้สัมภาษณ์เรื่อง “ทิศทางการส่งออกข้าวไทย” โดยกล่าวว่า 3 ปีที่ผ่านมา การส่งออกข้าวไทยมีความผันผวนมากที่สุด ไม่เคยเจอแบบนี้ และขอให้สถานการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว เพราะต้องยอมรับว่า ตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้ค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น อย่างเส้นทางขนส่งไทยไปลอสแอนเจลีส สหรัฐฯ จากเดิมที่ค่าระวางเรืออยู่ที่ 2,000 เหรียญสหรัฐฯ ปรับขึ้นเป็น 12,000-14,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตู้ 40 ฟุต จากไทยไปนิวยอร์ก ค่าระวางเรือจาก 8,000 เหรียญสหรัฐฯ ปรับขึ้นเป็น 18,000-20,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตู้ 40 ฟุต
ประเทศผู้นำเข้าข้าวติดล็อกดาวน์จากโควิด ส่งผลให้การส่งออกมีความล่าช้าใช้ระยะเวลาหลายเดือน เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานหลังการแพร่ระบาดโควิด แรงงานเดินทางกลับภูมิลำเนา และไม่กลับเข้ามาในระบบ ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ทั้งยังส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรกลุ่มพืชไร่มีราคาสูงขึ้นมาก ทั้งข้าวโพดและข้าวสาลี จึงส่งผลกระทบต่อราคาอาหารสัตว์ ทำให้ผู้นำเข้าอาหารสัตว์ไม่สามารถนำเข้าตามโควตาที่ระบุไว้ได้ เนื่องจากมีราคาสูง และมีผลต่อราคาข้าวหักปรับราคาสูงขึ้นเช่นกัน ค่าเงินบาทมีความผันผวน และยังรวมไปถึงประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้ง น้ำน้อย จึงทำให้ราคาข้าวมีการปรับสูงขึ้น ยากต่อการแข่งขัน จากปัจจัยโดยรวมเหล่านี้จึงทำให้การส่งออกในช่วงที่ผ่านมา ผู้ส่งออกต้องแข่งขันมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปี 2566 สถานการณ์โควิด 19 เริ่มคลี่คลายหลายประเทศผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ตั้งเป้าการส่งออกข้าวที่ 7.5 ล้านตัน มีมูลค่า 3,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากประเมินว่า ทิศทางผลผลิตข้าวในปีนี้อยู่ที่ 33 ล้านตันข้าวเปลือก หากคิดเป็นปริมาณข้าวสารอยู่ที่ 20 ล้านตัน จากปัจจัยที่มองว่าปี 2566 ปริมาณน้ำในเขื่อน
มีเพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดประมาณ 8 ล้านตันข้าวเปลือก รวมทั้งปัญหาของการขาดแคลนแรงงานเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ แรงงานเข้ามาในระบบ โดยเฉพาะแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงปัญหาค่าระวางเรือ โดยในปีนี้มีการปรับลดลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสายเดินเรือหลักที่ไทยส่งออกข้าวไปในตลาดโลก ทั้งลอสแอนเจลีส ปรับลดลงอยู่ที่ 880 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตู้ 40 ฟุต จีน ปรับลดลงอยู่ที่ 200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตู้ 40 ฟุต สิงคโปร์ ปรับลดลงอยู่ที่ 150-200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตู้ 40 ฟุต
นอกจากนี้ เป็นผลมาจากคู่แข่งอย่างอินเดียและเวียดนาม คาดว่าจะส่งออกข้าวได้น้อยลง จะทำให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวเปลี่ยนมานำเข้าจากไทยเพิ่มมากขึ้น เพราะในปี 2566 อินเดียปรับนโยบายการแจกข้าวให้กับประชาชนจากปัญหาโควิด 19 โดยปรับลดลงจาก 10 กิโลกรัม เหลือ 5 กิโลกรัม ซึ่งปริมาณครัวเรือนที่อินเดียแจกจ่ายนั้นประมาณ 80-100 ล้านครัวเรือน และอินเดียงดการส่งออกปลายข้าว ทำให้เวียดนามที่นำเข้าปลายข้าวจากอินเดียปีละ 1 ล้านตัน เพื่อทำการส่งออกนั้น นำเข้าปลายข้าวไม่ได้ ทำให้มีโอกาสที่ต่างประเทศจะเปลี่ยนมานำเข้าจากประเทศไทยมากขึ้น
สำหรับทิศทางตลาดข้าวโลก ประเมินการบริโภคข้าวโลกในปีนี้ว่า ผู้บริโภครายใหญ่ยังคงเป็นจีน ประมาณ 155 ล้านตัน รองลงมา คือ อินเดีย 108.5 ล้านตัน บังกลาเทศ 37.3 ล้านตัน อินโดนีเซีย 35.2 ล้านตัน เวียดนาม 21.5 ล้านตัน ฟิลิปปินส์ 15.8 ล้านตัน เป็นต้น โดยรวมการบริโภคข้าวโลกปีนี้ อยู่ที่ 517.2 ล้านตัน ลดลงจาก 519.9 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 0.5 จากปีที่ผ่านมา
ส่วนปริมาณผลผลิตข้าวโลกในปีนี้ จีน ยังเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ โดยคาดว่าอยู่ที่ 146 ล้านตัน ลดลงจาก 149 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 2 จากปีที่ผ่านมา อินเดีย 125 ล้านตัน ลดลงจาก 130.3 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 4.1 จากปีที่ผ่านมา บังกลาเทศ 35.9 ล้านตัน ปริมาณคงที่จากปีที่ผ่านมา อินโดนีเซีย 34.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 34.4 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากปีที่ผ่านมา เวียดนาม 27 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 26.8 ล้านตัน หรือเพิ่มขี้นร้อยละ 0.9 จากปีที่ผ่านมา ไทย 20.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 19.9 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากปีที่ผ่านมา
“อินเดียยังเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่ง คาดว่าจะส่งออกได้ 21.50 ล้านตัน ลดลงจาก 22.16 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 3 จากปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกข้าว 8.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 7.68 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 จากปีที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าว 6.8 ล้านตัน ลดลงจาก 7.10 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 4.2 จากปีที่ผ่านมา”
ประเทศผู้นำเข้าข้าวปีนี้ จีนนำเข้า 5.20 ล้านตัน ฟิลิปปินส์นำเข้า 3.60 ล้านตัน ไนจีเรียนำเข้า 2.20 ล้านตัน อิรักนำเข้า 1.6 ล้านตัน
การส่งออกข้าวไทย ตั้งแต่มกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 รวม 43 วัน อยู่ที่ 9.8 แสนตัน ลดลงร้อยละ 12.5 จากเดิมที่ส่งออกได้ประมาณ 1 ล้านตัน ทั้งนี้ เป็นผลมาจากประเทศผู้นำเข้า โดยเฉพาะสหรัฐที่มีการนำเข้าไปช่วงโควิดและยังคงมีข้าวอยู่ในสต็อกโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ส่งผลให้ช่วงนี้มีการชะลอการนำเข้า คาดว่าจากนี้น่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
แต่อย่างไรก็ดี การส่งออกข้าวไทย สิ่งที่ผู้ส่งออกต้องการให้มีการติดตามและดูแลมากที่สุด คือ เรื่องของความผันผวนของค่าเงินบาท เพราะมีผลต่อการแข่งขัน เห็นได้จากผู้นำเข้าเริ่มมีความกังวลจากค่าเงินบาทที่มีความผันผวน ซึ่งหากค่าเงินบาทมีความผันผวนจะมีผลต่อราคา โดยถ้าค่าเงินบาทผันผวน มีผลต่อราคาข้าวขาวลดลง 15 เหรียญสหรัฐต่อตัน ข้าวหอมมะลิลดลง 30 เหรียญสหรัฐต่อตัน
ดังนั้น ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาติดตามและดูแลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น ปัจจุบันราคา FOB ข้าวขาว 5% ไทย อยู่ที่ 470 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน จากเดิมที่ 480-490 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ส่วนเวียดนาม อยู่ที่ 450 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน อินเดีย อยู่ที่ 430-440 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ข้าวหอมมะลิไทย อยู่ที่ 850 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากก่อนหน้านี้ที่เคย 900 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
กัมพูชา
สำนักข่าว Khmer Times รายงานว่า กัมพูชาวางแผนจะขยายตลาดส่งออกข้าวในระหว่างงานแสดงสินค้าทางธุรกิจในปีนี้ที่จัดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (Gulfood: World's Largest Food Exhibition) ไทย (THAIFEX) และเยอรมนี (BIOFACH) ซึ่งสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (The Cambodia Rice Federation (CRF)) จะทำการส่งเสริมตราสินค้าข้าวที่จดทะเบียนแล้ว เช่น Jasmine Rice และ Damnoeb Sbai Mongkul (new variety of glutinous rice)
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) ได้เสนอแผนงานฉบับที่ 4 ต่อกระทรวงพาณิชย์ (the Ministry of Commerce) โดยได้มีการนําเสนอแผนงานต่อ นาย Pan Sorasak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งนาย Chan Sokheang ประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มการผลิตข้าวและเพิ่มเป้าหมายการส่งออกข้าวจากที่ตั้งไว้ที่ 750,000 ตัน ในปี 2566 เป็น 1 ล้านตัน ในปี 2568 โดยสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) จะเตรียมยุทธศาสตร์สำหรับปี 2566-2570 และยังคงร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ผ่านบริษัท Green Trade เพื่อเจาะตลาดข้าวใหม่ๆ
สำหรับในปี 2566 สหพันธ์ข้าวกัมพูชาจะร่วมมือกับกระทรวงฯ เพื่อเพิ่มการส่งออกข้าวให้ได้มากถึง 400,000 ตัน ไปยังตลาดจีน และขยายตลาดส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา แคนาดา ตะวันออกกลาง สิงคโปร์ ฮ่องกง และอินโดนีเซียต่อไป นอกจากนี้ จะส่งเสริมตราสินค้าข้าวที่ได้จดทะเบียนแล้ว (the registered rice brands) เช่น ข้าวหอมที่ได้รับอนุญาตเครื่องหมายการค้า Sen Kra’op – SKO) และข้าวเหนียวพรีเมียม Damnoeb Sbai Mongkul (DSMK)
กัมพูชายังพยายามขยายตลาดส่งออกข้าวในระหว่างงานแสดงสินค้าทางธุรกิจที่จะจัดขึ้นในปี 2566 เช่น
ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ ประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม และเยอรมนีในเดือนตุลาคม นอกจากนี้ ยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะหาตลาดส่งออกข้าวใหม่ๆ ในประเทศต่างๆ เช่น ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย
ขณะเดียวกัน กระทรวงฯ กําลังส่งเสริมการรวมสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวไว้ในข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน (the Cambodia-China Free Trade Agreement) ข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-เกาหลี (the Cambodia-Korea Free Trade Agreement) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (the Regional Comprehensive Economic Partnership; RCEP)
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอแนวทาง 9 ข้อ ให้แก่ผู้บริหารของสหพันธ์ข้าวกัมพูชาเพื่อเสริมแผนกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพในการทํางานให้สูงขึ้น ดังนี้ 1) รักษาความเป็นผู้นําตลาดที่มีประสิทธิภาพ 2) รักษาความสามารถในการแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกข้าวอื่นๆ ด้วยการเสริมสร้างความสามัคคีภายในสหพันธ์ฯ 3) สานต่อความร่วมมืออย่างแข็งขันกับกระทรวงพาณิชย์ในการหาตลาดส่งออกเพิ่มเติม รวมทั้งการดําเนินการตามที่ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจที่มีอยู่กับจีนและบังคลาเทศ 4) รักษาความร่วมมือที่แข็งแกร่งกับบริษัท the Green Trade ของกระทรวงฯ ในการเจรจาส่งออกข้าว 5) ติดตามและป้องกันภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาข้าวและรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวในตลาด 6) ร่วมมือกับกรมบริการสนับสนุนการค้า (the General Department of Trade Support Services) โดยเฉพาะในส่วนของใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้า เพื่อแก้ปัญหาและแบ่งปันข้อมูลการส่งออกข้าว 7) ร่วมมือกับ
กรมกิจการนิทรรศการ (the Exhibition Affairs Department) ในการทําโฆษณาและจัดแสดงสินค้าข้าวของกัมพูชา โดยเฉพาะข้าวหอม Sen Kra’op (SKO) และข้าวเหนียวพรีเมียม Damnoeb Sbai Mongkul (DSMK) 8) ร่วมมือกับกรมการค้าภายใน (the General Department of Domestic Trade) เพื่ออํานวยความสะดวกในการทำสัญญา
ซื้อขายกับเกษตรกรในท้องถิ่น และ 9) ร่วมมือกับกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (the Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries) ในการผลักดันนโยบายส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว การช่วยเหลือชาวนา การลงนามสัญญาซื้อขายเพื่อให้ราคาข้าวมีเสถียรภาพ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
สํานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจํากรุงปักกิ่ง รายงานว่า สํานักงานศุลกากรจีน (General Administration of Customs China; GACC) ได้รายงานปริมาณการนําเข้าข้าวของจีนในเดือนธันวาคม 2565 มีจํานวน 413,231 ตัน มูลค่าประมาณ 216.324 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2565 จํานวน 92,014 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.64 (ปริมาณนําเข้าข้าวในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีจํานวน 321,217 ตัน)
โดยนําเข้าจากประเทศไทยมากที่สุด จํานวน 136,243 ตัน ตามด้วยประเทศเมียนมา 116,601 ตัน และเวียดนาม 42,126 ตัน
ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2565 จีนนําเข้าข้าวสาร (พิกัดสินค้า 1006) จากไทยจํานวน 136,243 ตัน มูลค่าประมาณ 84.871 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 29 และร้อยละ 38 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีการนําเข้าจํานวน 105,715 ตัน มูลค่าประมาณ 61.356 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 (ที่มีการนําเข้าจํานวน 83,139 ตัน) ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 64 โดยในปี 2565 (มกราคม-ธันวาคม 2565) จีนนําเข้าข้าวสาร (พิกัดสินค้า 1006) จากไทยจํานวน 767,538 ตัน มูลค่าประมาณ 420.002 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 และร้อยละ 23 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่มีการนําเข้าจํานวน 600,015 ตัน มูลค่าประมาณ 340.217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ข้อมูลจาก GACC ชี้ว่า ในปี 2565 จีนนําเข้าธัญพืชและอาหารปริมาณรวมประมาณ 147 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยในจํานวนดังกล่าว จีนนําเข้าถั่วเหลืองประมาณ 91 ล้านตัน ซึ่งปริมาณนําเข้าลดลงร้อยละ 5.6
แต่ราคานําเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยในปี 2565 การนําเข้าถั่วเหลืองคิดเป็นร้อยละ 62
ของปริมาณการนําเข้าธัญพืชและอาหารทั้งหมดของจีน และสําหรับปี 2566 จีนอาจจะมีการกระจายแหล่งนําเข้าธัญพืชและอาหารมากยิ่งขึ้น เช่น การเพิ่มการนําเข้าข้าวโพดจากบราซิล
ขณะที่ผลผลิตธัญพืชของจีนในปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 686.530 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.68 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ซึ่งนับเป็นปีที่ 8 ติดต่อกันที่จีนมีผลผลิตธัญพืชสูงกว่าระดับ 650 ล้านตัน โดยพื้นที่พาะปลูกธัญพืชในจีนมีมากกว่า 739.56 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับปี 2564 ขณะที่ปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองของจีนอยู่ที่ประมาณ 20.28 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.89 ล้านตัน ซึ่งนับเป็นปีแรกที่จีนมีผลผลิตถั่วเหลืองสูงกว่าระดับ 20 ล้านตัน โดยพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองในจีนมีมากกว่า 64.125 ล้านไร่ เพิ่มขึ้น 11.375 ล้านไร่
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้
ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.28
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 13.70 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 398.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,662 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 410.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,861.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.93 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 199.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2565/66 มีปริมาณ 1,165.47 ล้านตัน ลดลงจาก 1,202.55 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 3.08 โดย จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย แอฟริกาใต้ และไนจีเรีย
มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 182.37 ล้านตัน ลดลงจาก 193.93 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 5.96 โดย บราซิล และปารากวัย ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เวียดนาม แอลจีเรีย เปรู โมร็อกโก
ไทย และสาธารณารัฐโดมิกัน มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 666.00 เซนต์ (9,115 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชล 679.00 เซนต์ (9,159.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.91
แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 44.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)
คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.734 ล้านไร่ ผลผลิต 33.358 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.427 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.88 ร้อยละ 2.08 และร้อยละ 0.20 ตามลำดับ โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.46 ล้านตัน (ร้อยละ 19.36 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.43 ล้านตัน (รอยละ 58.24 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการผลิต แต่เกษตรกรทยอยขุดหัวมัน และมันเน่าในหลายพื้นที่ทำให้หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยกว่าปกติ สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการตามปกติ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.91 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.85 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.11
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.34 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.30 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.55
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.32 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.12
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.10 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.82 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.66
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,500 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (9,330 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,780 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดห์ก่อน (17,470 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.142 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.206 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.854 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.154 ล้านตันของเดือนมกราคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 33.72 และร้อยละ 33.77 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.33 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 4.35 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 22.53
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.75 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 30.20 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.13
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สาม อยู่ที่ตันละ 4,203 ริงกิต เนื่องจากความต้องการน้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้นและสต็อกน้ำมันปาล์มที่ตึงตัว โดยมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากอินเดียและจีน และสต็อกน้ำมันปาล์มในตลาดที่ตึงตัวมาจากนโยบายจำกัดการส่งออกของอินโดนีเซีย และข้อกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจส่งผลกระทบในพื้นที่ภาคตะวันตกของอินโดนีเซียและพื้นที่ปลูกปาล์มของมาเลเซีย
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,131.11 ริงกิตมาเลเซีย (32.68 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตัน 3,943.41 ริงกิตมาเลเซีย (31.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.76
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 990.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.43 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 970.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.11
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 25.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 26.38 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,537.80 เซนต์ (19.64 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,531.84 เซนต์ (19.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.39
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 495.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 495.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.12
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 62.19 เซนต์ (47.64 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 61.04 เซนต์ (46.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.88
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 25.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 26.38 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,537.80 เซนต์ (19.64 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,531.84 เซนต์ (19.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.39
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 495.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 495.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.12
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 62.19 เซนต์ (47.64 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 61.04 เซนต์ (46.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.88
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,021.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,037.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 816.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 828.40 ดอลลาร์สหรัฐ (28.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,285.40 ดอลลาร์สหรัฐ (44.14 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,305.20 ดอลลาร์สหรัฐ (44.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 786.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 798.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,162.20 ดอลลาร์สหรัฐ (39.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,180.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.06
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.40 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,881 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,843 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,393 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,464 บาทคิดเป็นร้อยละ 5.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 958 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 92.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 96.53 คิดเป็นร้อยละ 4.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.79 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.16 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 85.25 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,700 บาท ลดลงจากตัวละ 2,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.78 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.97 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.20 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.03 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ลดลงจากตัวละ 15.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 12.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 330 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 339 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.63 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 326 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.52 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 3.62 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 391 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 415 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 399 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 359 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 434 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.35 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 4.45 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.41 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.41 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.83 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.79 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 77.79 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 92.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 96.53 คิดเป็นร้อยละ 4.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.79 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.16 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 85.25 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,700 บาท ลดลงจากตัวละ 2,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.78 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.97 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.20 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.03 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ลดลงจากตัวละ 15.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 12.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 330 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 339 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.63 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 326 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.52 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 3.62 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 391 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 415 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 399 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 359 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 434 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.35 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 4.45 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.41 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.41 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.83 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.79 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 77.79 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 - 26 กุมภาพันธ์ 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.79 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.65 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.47 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 158.75 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 162.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.64 บาท เนื่องจากมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 157.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 165.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.50 บาท เนื่องจากปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.67 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.26 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.87 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 - 26 กุมภาพันธ์ 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.79 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.65 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.47 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 158.75 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 162.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.64 บาท เนื่องจากมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 157.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 165.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.50 บาท เนื่องจากปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.67 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.26 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.87 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา